ชิปปิ้งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ แต่สิ่งที่ต้องรู้คือ E-Commerce ได้เปลี่ยนโฉมกลายเป็นตลาดที่ทันสมัยในปีที่ผ่านมา และได้กลายเป็นโมเดลธุรกิจที่โดดเด่นในการขายสินค้าหรือบริการออนไลน์
โดยมีผลต่อธุรกิจชิปปิ้งด้วยเช่นกัน ซึ่งมาพร้อมกับข้อดีและข้อเสียในตัวมันเอง
เมื่อเทียบกับธุรกิจออฟไลน์ที่มีหน้าร้านแบบดั้งเดิม ถือเป็นข้อได้เปรียบของผู้บริโภคที่สามารถช็อปปิ้งออนไลน์ได้สะดวกสบาย แต่ในเวลาเดียวกัน ก็อาจพบความเสี่ยงในแง่ของการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งความเสี่ยงที่จะได้รับสินค้าไม่ตรงปก
เพราะในข้อดี ย่อมมีข้อเสีย Protaobao ได้รวบรวมเอาข้อดี และข้อเสียของธุรกิจ E-Commerce มาฝากไว้เป็นข้อมูลสำหรับผู้เริ่มต้นทำธุรกิจออนไลน์ ทั้งธุรกิจร้านค้าออนไลน์และธุรกิจชิปปิ้ง อื่นๆ
ข้อดีของ E-Commerce
เพราะอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งสำคัญในสังคมสมัยใหม่ ทั้งเรื่องการเมืองและการศึกษา ตลอดจนวิธีการดำเนินธุรกิจ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมการเปลี่ยนไปใช้ E-Commerce จึงมาพร้อมกับข้อได้เปรียบที่สำคัญ
- E-Commerce ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้าออฟไลน์และช่วยให้ธุรกิจขยายฐานลูกค้า
เว็บไซต์ E-Commerce มีข้อได้เปรียบอย่างมากสำหรับผู้ซื้อและร้านค้าที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตเมืองใหญ่ แม้อยู่เมืองใหญ่ยังสามารถเปิดตลาดใหม่ ช่วยพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ได้ รวมทั้งขยายฐานผู้บริโภคแม้ในพื้นที่ห่างไกล สิ่งสำคัญคือควรพัฒนาการทำ SEO ให้ติดอันดับต้นๆ ของการค้นหา เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าชมเว็บไซต์
- ประหยัดเงินค่าเช่าสาธารณูปโภค ค่าบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับร้านค้าออฟไลน์
เปิดให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ไม่ต้องจ้างพนักงานมาดูแลร้านค้า ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับรายการสินค้าที่ต้องสต๊อกร้านค้า มีพื้นที่เก็บข้อมูลที่มีราคาถูกกว่าพื้นที่ร้านค้าปลีก และไม่ต้องกังวลกับปัจจัยต่างๆ เช่น การจราจรบนท้องถนนหรือที่จอดรถ เป็นต้น
- ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลสามารถขายออนไลน์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม
E-Commerce ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อเพลง วิดีโอ หรือหนังสือได้ทันที โดยร้านค้าสามารถขายสำเนาของรายการดิจิทัลเหล่านี้ได้ไม่จำกัด และไม่ต้องกังวลว่าพวกเขาเก็บสินค้าคงคลังไว้ที่ไหน
- E-Commerce ช่วยให้ธุรกิจขยายตัวได้ง่ายกว่า
ผู้ค้า E-Commerce สามารถเก็บข้อมูลการติดต่อในรูปแบบของ E-mail การส่ง E-Mail อัตโนมัติและ E-Mail แบบกำหนดเองจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับการแจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับโปรโมชั่น และการออกผลิตภัณฑืใหม่ๆ วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับแต่งร้านค้าและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคได้ง่ายกว่า
- การจัดซื้อทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องต่อคิวรอชำระเงิน
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบช็อปปิ้งออนไลน์ก็เนื่องมาจากการจัดซื้อในธุรกิจ E-Commerce ทำได้รวดเร็ว โปร่งใส และไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด รวมทั้งมีโอกาสน้อยสำหรับข้อผิดพลาดทางบัญชี ที่สำคัญ การมีทุกสิ่งในรูปแบบดิจิทัลทำให้การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถิติเชิงตัวเลขได้โดยระบบอัตโนมัติที่ง่ายขึ้น
ข้อเสียของ E-Commerce
แม้จะดูเหมือนว่า E-Commerce ช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจได้ทั้งหมด แต่ก็มีข้อเสียบางประการ คือเปลี่ยนจากร้านค้าออฟไลน์ที่มีสถานที่อยู่จริงกลายเป็นร้านค้าออนไลน์ที่ไม่สามารถสัมผัสได้จริง
- ผู้บริโภคยังต้องการเข้าถึงร้านค้าด้วยตัวเองและยังมีปฏิสัมพันธ์กับร้านค้าออฟไลน์อยู่
ผู้บริโภคต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบคำถามได้ทันที และสายด่วนบริการลูกค้าขององค์กร ถึงแม้จะแข็งแกร่งเพียงใด ก็ยังไม่สามารถแทนที่การติดต่อแบบตัวต่อตัวกับตัวแทนฝ่ายขายเฉพาะด้านได้ ลูกค้าจำนวนมากยังต้องการที่จะสัมผัสกับผลิตภัณฑ์จริงก่อนซื้อ เช่น เสื้อผ้า น้ำหอม เครื่องสำอาง รองเท้า ฯลฯ
- มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและการฉ้อโกงบัตรเครดิต
ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกงและเสี่ยงต่ออันตรายเมื่อต้องกรอกรายละเอียดลงบนเว็บไซต์ หากเว็บไซต์นั้นไม่ได้โน้มน้าวผู้คนด้วยกระบวนการเช็คเอาต์ที่มีความปลอดภัย อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความกลัวต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ ในทางกลับกัน ธุรกิจต่างๆ รวมถึงธุรกิจชิปปิ้ง ก็อาจเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบอื่นๆ ได้
- ไม่ได้รับสินค้าทันทีที่ซื้อ และเสี่ยงต่อการขนส่งที่ล่าช้า
ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อการจัดส่งเร่งด่วนโดยไม่ต้องรอเป็นเวลาหลายวัน การรอคอยอาจทำให้ลูกค้าลดลง สำหรับธุรกิจที่มีการจัดส่งที่ซับซ้อนมากเป็นพิเศษ อาจทำให้การขอรับเงินคืนเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ การเติบโตด้าน E-Commerce ยังจำเป็นต้องมีนโยบายการส่งคืนสินค้าและการคืนเงิน ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดจากการใช้งาน ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาตรวจสอบนาน รวมทั้งใช้เอกสารหลายฉบับ
- มีค่าใช้จ่ายจำเป็นและภาษีที่มาพร้อมกับการเปิดร้าน E-Commerce
จากข้อมูลเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 ศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยว่ารัฐสามารถเรียกเก็บภาษีการขายสำหรับธุรกรรม E-Commerce ได้ แต่ศาลฎีกาก็ปล่อยให้รัฐตัดสินเองว่า ขนาดเท่าไหร่ของร้านค้าปลีกออนไลน์ ที่จะต้องเสียภาษี ซึ่งก็ไม่มีเรทที่แน่นอนว่าเท่าไหร่ที่ควรจะจ่าย นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความสับสนด้านกฎระเบียบที่เกิดจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของ E-Commerce
เมื่อศึกษาข้อดีและข้อเสียของธุรกิจ E-Commerce แล้ว อย่าลืมศึกษาความคิดเห็นหรือรีวิวของลูกค้า ซึ่งมีผลต่อธุรกิจร้านค้าออนไลน์และธุรกิจชิปปิ้งด้วยเช่นกัน สามารถอ่านได้ที่ ‘ทำไมรีวิวเชิงลบมีผลดีต่อธุรกิจ?’ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจต่อไป
อ้างอิงข้อมูล : https://www.thebalancesmb.com/ecommerce-pros-and-cons-1141609