เถาเป่า 7 แนวโน้มการค้าปลีกที่ต้องจับตามอง สู่การเปลี่ยนแปลง!

เถาเป่า 7 แนวโน้มการค้าปลีก_ProtaobaoWEB เถาเป่า เถาเป่า 7 แนวโน้มการค้าปลีกที่ต้องจับตามอง สู่การเปลี่ยนแปลง! 7                                                     ProtaobaoWEB

เถาเป่า กับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและ Social Media นั้น มีผลต่อแนวโน้มการค้าปลีกในปีที่ผ่านๆ มา อย่างน้อยมันก็ช่วยให้ชีวิตของผู้บริโภคง่ายขึ้น

ซึ่งในอนาคตมิใช่เพียงเทคโนโลยีเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลง แต่พฤติกรรมผู้บริโภคก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

Protaobao รวบรวมจากการสำรวจเมื่อปลายปี 2018 โดยมหาวิทยาลัยแอริโซนา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คิดว่าผู้ค้าปลีกแบบดั้งเดิม ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทาง Social อีกทั้งการช็อปปิ้งออนไลน์และออฟไลน์กำลังจะกลายเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งต่อไปนี้ คือแนวโน้มของธุรกิจค้าปลีกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป และเถาเป่ายังต้องเฝ้าจับตามอง

 

  1. ออนไลน์กับออฟไลน์คือเรื่องเดียวกัน

จากนี้ไป ธุรกิจ E-Commerce จะไม่ใช่ ‘การช็อปปิ้งออนไลน์’ อีกต่อไป แต่กำลังกลายเป็นเพียงการช็อปปิ้งธรรมดา ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าผู้ค้าปลีกจะมีสถานะออนไลน์และออฟไลน์ (ด้านกายภาพ) เพื่อรองรับผู้บริโภค ร้านค้าออนไลน์กำลังมองหาที่จะขยายไปสู่อาณาจักรทางกายภาพ โดยการเปิดร้านค้าแบบมีหน้าร้าน แม้กระทั่งร้านค้าออนไลน์ที่เป็นแพลตฟอร์มแรกและสำคัญที่สุด เช่น ร้านค้าระดับ 4 ดาวของ Amazon รวมถึง Amazon Go และ Amazon Books ได้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงแนวโน้มนี้

ไม่ใช่เพียง Amazon เท่านั้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ร้าน Pop-up ได้ปรากฏขึ้นมามากมายและส่วนใหญ่มักเป็นร้านค้าออนไลน์เท่านั้น โดยเฉพาะมักจะปรากฏให้เห็นในช่วงวันหยุด ตรงกันข้ามกับร้านค้าที่เปิดแบบมีหน้าร้านหรือร้านค้าออฟไลน์ กำลังเรียนรู้ความสำเร็จจากเคสออนไลน์ในเครือข่ายของพวกเขาเอง นี่คือสัญญาณว่า E-Commerce กำลังเข้าใกล้สู่จุดที่เติบโตที่สุด และต่อไปธุรกิจ E-Commerce จะแยกไม่ออกจากการค้าปลีกแบบทั่วไป ซึ่งทางเถาเป่าเองได้มีการปรับตัวร่วมกับร้านค้าปลีกที่เป็นสมาชิกด้วยกัน เพื่อให้ E-Commerce แบบออนไลน์ควบคู่ไปกับออฟไลน์

  1. ช่องทางการสมัครสมาชิกต้องง่ายในการเข้าถึง

หากคุณเป็นหนึ่งใน 15% ของผู้บริโภคออนไลน์ในปี 2016 เชื่อได้เลยว่าคุณพร้อมที่จะลงทะเบียนหรือสมัครสมาชิกเพื่อรับผลิตภัณฑ์หรือรับข่าวสาร ที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นเมื่อได้รับการแจ้งเตือน รวมไปถึง Netflix และร้านวิดีโอเกม เช่น Humble Bundle ซึ่งมีอัตราเติบโตขึ้น 100% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการสมัครสมาชิกสำหรับการซื้อของออนไลน์เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่แพง และเป็นส่วนตัวในการซื้อสินค้าที่ต้องการ

  1. AI เพิ่มกำไรและประสิทธิภาพทางการค้า

นักการตลาดได้เจาะลึกข้อมูลจากสมาร์ทโฟนของผู้บริโภค และนิสัยการใช้เบราว์เซอร์ในช่วงเวลาหลายปี ทำให้คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2025 รายรับจากการใช้ AI จะสูงถึง 36 พันล้านเหรียญสหรัฐตามข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด Tractica โดย AI ช่วยให้ผู้ค้าปลีกเพิ่มรายได้ถึง 340 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. ค้นหาด้วยเสียงมาแรงแทนการพิมพ์

การสนทนาของ AI จะเป็นการพูดคุยกับการค้นหาด้วยเสียงและกลายเป็นผู้ช่วยส่วนตัวในสหราชอาณาจักร การใช้กล่องเสียงอัจฉริยะหรือลำโพงสมาร์ทโฟนได้เพิ่มขึ้น 14% ในปี 2017 เป็น 27% ในปี 2018 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สะท้อนไปทุกที่ในประเทศพัฒนาแล้ว ปัจจุบัน การค้นหาด้วยเสียงประกอบด้วยการค้นหาของ Google 20% ทั้งนี้ ควรกระตุ้นให้ผู้ค้าปลีกมีการสร้างเว็บไซต์ที่สามารถค้นหาได้ด้วยเสียง Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก ยังได้ประมาณการณ์ไว้ว่า นับจากนี้ไปการค้นหาผลิตภัณฑ์จะไม่ใช้การสัมผัสผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนอีกต่อไป แต่อาจใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เข้ามาช่วยโดยเฉพาะการใช้เสียง เหตุผลก็คือมนุษย์สามารถพูดได้โดยเฉลี่ย 150 คำต่อนาที ขณะที่พิมพ์ได้เพียง 40 คำเท่านั้น

  1. Instashopping ผสานกันอย่างกลมกลืน

อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเครือข่ายโซเชียลจะไม่เป็นเพียงที่สำหรับพูดคุยและติดตามเพื่อนเท่านั้น สำหรับผู้ค้าปลีกจะกลายเป็นช่องทางติดต่อกับฐานผู้ใช้งานหรือผู้บริโภคของพวกเขา ในความจริง 60% ของผู้ใช้ Instagram (หรือ 600 ล้านคนใน 1 พันล้านคนต่อเดือน) ใช้แพลตฟอร์มเพื่อค้นหาและซื้อผลิตภัณฑ์ การเพิ่มระบบการชำระเงินแบบดั้งเดิม จะช่วยให้กระบวนการนี้รวดเร็วยิ่งขึ้น

  1. แคมเปญรักษ์โลกมาแรง

การพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่มันคือสิ่งที่แบรนด์ต้องทำ ข้อมูลจากยูนิลีเวอร์ระบุว่า ผู้บริโภคต้องการให้แบรนด์สินค้ามีแคมเปญด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการค้าปลีกคือการต้องเผชิญกับความพึงพอใจของผู้บริโภค เช่น ศักยภาพด้านบรรจุภัณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืน

ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมได้จากแคมเปญเฉพาะกิจที่เกิดขึ้น นี่จึงกลายเป็นเหตุผลที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและมีจริยธรรมมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์กรและความต้องการของผู้บริโภค เถาเป่าเองก็ได้เล็งเห็นความสำคัญนี้เช่นกัน แม้แต่สถาบันของภาครัฐก็ได้ก้าวเข้ามามีส่วนร่วมบนเส้นทางสีเขียวหรือรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ ในสหรัฐอเมริกาห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ส่วนในไทยงดแจกถุงพลาสติกในร้านค้าสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้า

  1. ส่งไวได้เปรียบ

ผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่รู้ว่าเวลานั้นมีค่า เปรียบได้กับเงินตรา และเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับพวกเขา ดังนั้นผู้ค้าปลีกจึงใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ในการจัดการกับพวกยานพาหนะโดยอัตโนมัติ และกระบวนการบริหารอื่นๆ ที่สามารถเป็นไปได้โดยอัตโนมัติ สิ่งที่ผู้ค้าปลีกตระหนักคือผู้บริโภคยังคำนึงถึงเรื่องเวลาที่ยังเป็นหัวใจสำคัญ ในการส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคโดยไว เช่น การศึกษาของ Alix Partners พบว่าผู้บริโภคมีความอดทนต่อเวลาส่งมอบน้อยขึ้น จากช่วงเวลาที่ต้องใช้อย่างมากที่สุด 6 วัน ในปี 2012 และเวลาถูกย่นลดลงมาเป็น 4 วันในปี 2018 ทำให้สมาชิก Amazon Prime มีความต้องการในจุดนี้เพิ่มมากขึ้น

สิ่งนี้หมายความว่า มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าของร้านค้าปลีกออนไลน์ได้เลือกทิ้งตะกร้าสินค้าออนไลน์ เนื่องจากผู้ค้าปลีกนั้นไม่มีตัวเลือกสำหรับการจัดส่งสินค้าตามที่ผู้บริโภคต้องการ 1 ใน 4 ร้านค้าปลีกมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับการจัดส่ง และ 88% ใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับการจัดส่งภายในวันเดียวกัน

อ้างอิงข้อมูล https://financesonline.com/retail-trends/