เถาเป่า หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ติดการใช้อิโมจิในการส่งข้อความทางโซเชียลมีเดียหรือไม่ ? แล้วเคยสังเกตบ้างไหมว่าอิโมจิรูปใดที่ใช้บ่อยที่สุด
จริงๆ แล้ว อิโมจิ หรือ Emoji เป็นภาษาญี่ปุ่น ที่เป็นการรวมเอาคำว่า อิ (e) ซึ่งแปลว่าภาพ กับคำว่า โมจิ (moji) ที่แปลว่าตัวอักษรเข้าด้วยกัน แปลได้ว่าตัวอักษรภาพ ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมใช้ของผู้คนทั่วโลก
Protaobao ผู้ให้บริการสั่งซื้อสินค้าจากจีน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจาก 1688 ,Taobao (เถาเป่า) และ Tmall อ้างอิงข้อมูลของรายงานล่าสุดจาก The Unicode Consortium ซึ่งเป็นกลุ่มหรือองค์กรที่มีหน้าที่รับรองการออกอิโมจิ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ออกประกาศอิโมจิชุดใหม่ของปีนี้ หรือที่มีชื่อว่า Emoji 13.0 ประกอบด้วยอิโมจิชุดใหม่ 62 ตัว และอีก 55 อิโมจิที่มีการแบ่งเพศและสีผิว อาทิ นินจา คนกอดกัน แมวดำ แมมมอธ หมีขาว แมวน้ำ เต่าทอง เป็นต้น โดยคาดว่าอิโมจิชุดใหม่นี้ จะเริ่มมีผลในระบบปฏิบัติการช่วงครึ่งหลังของปี 2020
อย่างไรก็ตาม The Unicode Consortium ระบุว่า สำหรับอิโมจิที่เป็นสัญลักษณ์ ‘หน้ายิ้มที่มีน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ’ (😂) หรือ Face of The Year นั้น พบว่าเป็นอิโมจิที่ใช้บ่อยที่สุดหรือคิดเป็น 17% ของอิโมจิทั้งหมด โดยมีอิโมจิสัญลักษณ์รูป ‘หัวใจสีแดง’ รองลงมา (❤️) และอิโมจิ ‘หน้ายิ้มด้วยตาหัวใจ’ (😍) ซึ่งเรียงมาเป็นที่สองและที่สามตามลำดับ
เถาเป่า มีข้อมูลจากการจัดอันดับของ Unicode ในปี 2015 แสดงให้เห็นว่า อิโมจิรูป ‘หน้ายิ้มที่มีน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ’ ได้รับความนิยมที่สูงลิ่วจากอิโมจิอื่นๆ ที่เหลืออีก 2,822 ตัว และในพจนานุกรม Oxford ก็ได้เลือกให้อิโมจิดังกล่าวให้กลายเป็น ‘Word of The Year’ หรือคำแห่งปี อย่างไรก็ตาม อิโมจิ ‘หน้ายิ้มที่มีน้ำตาแห่งปลื้มปิติ’ ถูกนำมาใช้เมื่อปี 2010 เพื่อแทนอารมณ์ขำขัน หรือแสดงความคิดเห็นเชิงตลก ขำขัน ทำให้ข้อความที่ประชดประชันนั้นดูอ่อนลง อาทิ เมื่อต้องการจะบอกว่า การประชุมนั้นไม่มีประเด็นอะไรสำคัญแม้แต่น้อย อาจจะส่งข้อความไปว่า “เป็นการประชุมที่สมบูรณ์จริงๆ 😂” เป็นต้น ในขณะที่อิโมจิใบหน้าขำกลิ้ง (🤣) ซึ่งมาในอันดับที่ 4 การสำรวจของ Unicode มันบ่งบอกถึงความฮาสุดขีดหรือขำมากกว่าอิโมจิใบหน้ายิ้มอื่นๆ ที่มีอยู่
จะว่าไปแล้ว อิโมจิ ‘หน้ายิ้มที่มีน้ำตาแห่งปลื้มปิติ’ นั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการดึงดูดความสนใจด้วยตัวของมันเอง Monica Riordan นักจิตวิทยาผู้มีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์กล่าวไว้ว่า ‘คุณกำลังพยายามเข้าถึงรหัสภาพ เพื่อใช้ในการสื่อสารแทนอารมณ์ และความคิดอันสลับซับซ้อนผ่านกราฟิกเล็กๆ อย่างอิโมจิ แล้วคาดหวังว่าอีกฝ่ายจะตีความสิ่งที่คุณสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เธอได้อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า การศึกษาจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่า 55% การสื่อสารของมนุษย์ต่างใช้ภาษากาย ท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกทางสีหน้า และอีก 38% ถ่ายทอดด้วยน้ำเสียงและการผันคำพูดของผู้พูด ซึ่งความหมายเหล่านี้อาจหายไปในการส่งข้อความ ดังนั้น เราจึงมีการชดเชยด้วยการตอบสนองที่เกินจริง โดยใช้อิโมจิที่แสดงถึงสีหน้าและอารมณ์อันสุดขีด เช่น คนทั่วไปไม่อาจร้องไห้ได้ในขณะที่หัวเราะไปด้วย’ นักจิตวิทยา Riordan อธิบาย
อิโมจิเป็น ‘เครื่องมือบำรุงรักษาความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐาน’
นักจิตวิทยา Riordan ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มที่มีผลต่อตัวละครแบบไฮเปอร์โบลิค (หมายถึง เกินความจริง) นั้น อาจเกินความจริงได้เช่นกัน ‘เพราะพวกเขา (ผู้รับสาร) ไม่สามารถมองเห็นใบหน้าของเราหรือได้ยินเสียงร้องของเราได้ เราจึงสามารถใช้อิโมจิเพื่อแสดงอารมณ์ที่เรารู้สึกได้’ นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงสาระสำคัญของการส่งข้อความทางดิจิทัล ซึ่งมันได้จำกัดความสามารถในการถ่ายทอดความแตกต่างที่มีเส้นบางๆ กั้นเอาไว้
Riordan อธิบายเพิ่มเติมถึงการใช้อิโมจิเป็นเครื่องมือกระชับความสัมพันธ์ไว้อย่างน่าสนใจว่า บางครั้งเราก็ใช้อิโมจิเพื่อแสดงอาการตอบกลับถึงอารมณ์ที่อีกฝ่ายต้องการ เช่น การใช้อิโมจิ ‘หน้ายิ้มที่มีน้ำตาแห่งปลื้มปิติ’ เมื่อฟังเรื่องตลกของพ่อสามี ทั้งที่ในความเป็นจริง ไม่ได้ขำ เป็นต้น หรือบางครั้งการใช้อิโมจิ 😂 ก็อาจเป็นเพียงสัญญาณเริ่มต้นของความรัก
อย่างไรก็ตามไม่ใช่กับทุกคนหรือแม้แต่เถาเป่าเองที่จะใช้สัญลักษณ์ ‘หน้ายิ้มที่มีน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ’ The Guardian ได้วิจารณ์ไว้ว่า ‘หน้ายิ้มที่มีน้ำตาแห่งปลื้มปิติ’ โดดเด่นด้วยน้ำตา แต่ในทางปฏิบัติคือความสนุกสนาน ซึ่งมันอาจจะสื่อถึงความรู้สึกเยาะเย้ยก็ได้หรือโหดร้ายก็ดี อิโมจินั้นไม่ได้มีความหมายตายตัว เช่น อิโมจิยูนิคอร์น (🦄) ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในฐานะสัญลักษณ์ของชายรักชาย เช่นเดียวกันอิโมจิรูปพีช (🍑) ที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางการเมืองในสหรัฐอเมริกา หมายถึง การสอบสวนของประธานาธิบดีโดนัลทรัมป์ เป็นต้น